รายการ Mega Clever จะเล่นทุกวันพฤหัสบดี เวลา 20:30 น. ทางช่อง 9 เป็นรายการทดลองแล้วให้ผู้ร่วมรายการสองคนตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางตอนก็จะเตรียมอุปกรณ์ที่เป็นของจริง ของจำลอง ทั้งที่ทดลองในห้องสตูดิโอ และนอกสถานที่ และหากการทดลองไหนที่อันตรายก็จะออกไปทำข้างนอก หรือทำแบบหลอก ๆ แล้วอธิบายให้ฟังว่าทดลองให้ดูไม่ได้เพราะมันอันตรายเกินไป เหมาะสำหรับการศึกษาความรู้เป็นอย่างดีครับ
คำถามประจำวันนี้ที่ 25 jan 2007 เท่าที่จำได้และเรียงสลับกันไปมา แบบคร่าว ๆ มีดังนี้
1. เพราะเหตุใดปลาเสือจึงพ้นน้ำได้แม่นยำ? (ปลาเสืออาศัยอยู่ในแม่น้ำแถวป่าอะเมซอน(คิดว่าน่ะ) มันจะพ้นน้ำใส่แมลงที่เกาะบนกิ่งไม้โดยเลงเป้าหมายจากใต้น้ำ และเมื่อเหยื่อโดนน้ำที่พ้นใส่แล้วตกลงมา มันยังไปฮุบกินเหยื่อได้อย่างแม่นยำอีกด้วย) มีตัวเลือกอยู่ 3 อย่างคือ
A: อาศัยการคำนวน
B: มีดวงตาแบบเหมือนการมองผ่านแว่นสองชั้น
C: อาศัยเสียงอัลตราไวโอเล็ต
คำตอบคือ ข้อ A: อาศัยการคำนวน (มันคำนวนได้สุดยอดจริง ๆ เลย)
2. สามารถใช้อะไรดังต่อไปนี้ชำระคราบเลือดที่ติดเสื้อผ้าได้
A: น้ำโคคาโคร่า
B: ยาแอสไพริน
C: หอมหัวใหญ่
คำตอบคือ ข้อ B: ยาแอสไพริน เพราะมันมีสารบางอย่างจำชื่อไม่ได้ช่วยในการทำให้เลือดไม่เกาะตัว สลายเลือดได้ เพราะฉะนั้นไม่คนที่เป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด ไม่ควรทานยาประเภทนี้เด็ดขาด (คิดต่อยอดเองไม่เกี่ยวกับรายการเมกก้า เครพเวอร์)
3. หากเราใช้เพียงลิ้นลิ้มรสอาหารเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใช้จมูกช่วยด้วยผลจะเป็นอย่างไร?
A: ดีขึ้น
B: ไม่แตกต่าง
C: ไม่รู้รสอาหาร
คำตอบคือ ข้อ B: คือไม่แตกต่าง เนื่องจากว่าลิ้นเรามีปุ่มรับรสหาอาหารอยู่ 5 ปุ่ม ฉะนั้นไม่ใช้จมูกก็สามารถจำแนกรสของอาหารได้ โดยปุ่มรับรสอาหารนั้นมีดังนี้
1. ปุ่มรับรสหวานอยู่ที่ปลายลิ้น
2. ปุ่มรับรสเค็มอยู่เลยปลายลิ้นเข้ามานิดหนึ่งไม่ถึงกลางลิ้นน่ะ
3. ปุ่มรับรสเปรี้ยวอยู่ที่ขอบลิ้นทั้งสองด้าน
4. ปุ่มรับรสขมอยู่โคนลิ้นด้านในสุด และรับรสได้ไว เพราะอาหารมีพิษมักมีรสขม
5. ปุ่มอาคูมิ อันนี้จำไม่ได้ว่าบริเวณไหน และรับรสอะไร แฮะ ๆ
แต่ว่าที่สำคัญยังไงการรับรสอาหารก็ยังต้องอาศัยจมูกถึง 80% อยู่ดีเพื่อให้การจำแนกรสอาหารทำได้ดีขึ้น
4. ทำไมเด็กเล็ก(อายุตั้งแต่ 4 ขวบถึงหนึ่งปี)ถึงสามารถดำน้ำได้
จำตัวเลือกไม่ได้ครับ แต่ว่าจำคำตอบได้ คือ การสัมผัส โดยในการทดลอง(โรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็ก) เขาจะจับเด็กไว้เหนือน้ำแล้ว เอาน้ำรดจากศีรษะลงมาใบหน้าค่อยปล่อยเด็กลงดำน้ำ จำไม่ได้ว่ามิสเตอร์โบว์นิ่งอธิบายวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่าไง แต่คราว ๆ ประมาณนี้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment